วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

มหาชาติหรือมหาเวสสันดรชาดก

ความเป็นมา เวสสันดรชาดกนี้เป็นเรื่องใหญ่จัดรวมไว้ในมหานิบาตชาดกรวมเรื่องใหญ่ ๑๐ เรื่อง ที่เรียกกันว่า ทศชาติ แต่อีก ๙ เรื่อง ไม่เรียกว่ามหาชาติ คงเรียกแต่เวสสันดรชาดก เรื่องเดียวว่า มหาชาติ ข้อนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ โปรดประทานอธิบายว่า พุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดจนประเทศใกล้เคียงนับถือกันมาแต่โบราณว่า เรื่องมหาเวสสันดรชาดก สำคัญกว่าชาดกอื่น ๆ ด้วยปรากฏบารมีของพระโพธิสัตว์บริบูรณ์ ในเรื่องมหาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๐ บารมี อานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติ การตั้งใจฟังเทศน์มหาชาติให้จบเพียงวันเดียวครบบริบูรณ์ ทั้ง ๑๓ กัณฑ์จะเป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาทุกประการดังนี้ ๑. เมื่อตายจากโลกนี้แล้ว จะมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้า พระนามว่า ศรีอริยเมตไตย ในอนาคต ๒. เมื่อดับขันธ์ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จะเสวยทิพยสมบัติมโหฬาร ๓. เมื่อตายไปแล้วจะไม่ตกนรก ๔. เมื่อถึงยุคพระพุทธเจ้าพระนามว่า ศรีอริยเมตไตย จะได้จุติไปเกิดเป็นมนุษย์ ๕. ได้ฟังธรรมต่อหน้าพระพักตร์ของพระพุทธองค์ จะได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระอริยบุคคล ในบวรพุทธศาสนา

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์ มงคลสูตรคำฉันท์ เป็นวรรณคดี คำสอน ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรม ที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ ไพเราะ มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย สามารถจดจำได้ง่าย มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติ ปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย ผู้แต่ง : พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ แทรกคาถาบาลี จุดมุ่งหมายในการแต่ง : เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้นไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้ นอกจากตัวเราเอง ความเป็นมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์ โดยใช้คำประพันธ์ ๒ ชนิดคือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และอินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง “อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา ปูชา จ ปูชนียานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ หนึ่งคือบ่คบพาล เพราะจะพาประพฤติผิด หนึ่งคบกะบัณฑิต เพราะจะพาประสบผล หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน ข้อนี้แหละมงคล อดิเรกอุดมดี”

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ความเป็นมา บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวบรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดย นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประวัติผู้แต่ง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปล ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะใช้นามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังทรงประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการในพระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการ ต่อมาพระองค์ได้ทรงอ่านบทกวีของชาวจีบบทหนึ่ง มีใจความว่า หว่านข้าวในฤดูใบไม่ผลิ ข้าวเมล็ดหนึ่ง จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน ชาวนายังพรวนดิน เหงื่อหยดบนดินภายใต้จ้นข้าว ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส

หัวใจชายหนุ่ม

ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์ หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม (นักเรียนนอก) ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ ประเสริฐ สุวัฒน์ โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนวนิยาย